วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2552

บทสรุปการศึกษาวิชาการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

วิชาการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
สรุปสาระการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม 2552
เรียนรู้ : แนวความคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ สร้างระบบสารสนเทศและนวัตกรรมทางการศึกษา การทำงานเป็นทีมแต่ละคนมุมมองความคิดไม่เหมือนกันทีเดียวนัก บางคนสอดคล้องกันแต่จะถูกดึงเข้ามาในทิศทางเดียวกันเพื่อให้บรรลุความสำเร็จในงาน ที่ชอบมากคือแนวคิดในการนำเสนอผลงานที่เพื่อนๆบางกลุ่มนำเสนอผลงานในรูปแบบการแสดงละคร ได้ข้อคิดจากอาจารย์เกี่ยวกับการเขียนรายงานควรมีการวางแผน
สรุปสาระการเรียนรู้ครั้งที่ 2 วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม 2552
เรียนรู้ : การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับสถาบันการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษา มีกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ระบบสารสนเทศสำหรับการศึกษา การทำงานกลุ่มครั้งนี้มีการวางกรอบของงาน แต่ยังขาดความรอบคอบในการดำเนินงาน อาจเป็นเพราะความคิดยังไม่หลากหลาย บางคนอาจมีประสบการณ์ในงานเฉพาะอย่าง แต่ร่วมกันทำงานตามกำลังความสามารถของตนเอง ทุกคนต่างเอื้ออาทรช่วยเหลือกันและมีความเป็นหนึ่งเดียวกันจนเป้าหมายบรรลุ
สรุปสาระการเรียนรู้ครั้งที่ 3 วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน 2552

เรียนรู้ : เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษาสมัยใหม่ ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในการทำบล็อก ในชั่วโมงเรียนผู้เรียนจะตั้งใจเรียนมากและจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันตลอดเวลา ได้นำเทคนิคพื้นฐานของระบบสารสนเทศไปใช้สื่อสารผ่านเครือข่ายรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างระบบสารสนเทศ ซึ่งสามารถประเมินผลงานจากบล็อก
สรุปสาระการเรียนรู้ครั้งที่ 4 วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน 2552
เรียนรู้ : การบริหารจัดการระบบสารสนเทศในสถาบันการศึกษา นวัตกรรมทางการศึกษาและโครงสร้างพื้นฐานกับการพัฒนาระบบนวัตกรรม ผู้เรียนได้รับทักษะการคิดและกระบวนการคิด จากกิจกรรมช่วยกันถามช่วยกันตอบในเนื้อหาวิชาที่เรียนและวิธีการสร้างคำถาม ก่อให้เกิดพฤติกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนและอาจารย์ช่วยลูกศิษบ์ นอกจากนี้ผู้เรียนยังได้รับความรู้และแนวคิดจากคำถามและคำตอบของเพื่อนนักศึกษาอย่างหลากหลาย

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552

เรียน ป.โท ได้อะไร

กิจกรรมพัฒนาเด็กอนุบาล




พัฒนาประสาทการรับรู้ในเรื่องของรสและกลิ่น : ขวดสำรวจรส


จุดประสงค์ 1. เพื่อฝึกให้เด็กแยกรสชาติที่แตกต่างกันได้


2. เพื่อฝึกเด็กในการตัดสินใจ


อุปกรณ์ 1. ขวด 4 ใบประกอบด้วย ขวดน้ำเกลือ ขวดน้ำตาล ขวดน้ำมะนาว

ขวดน้ำการบูร


2. แก้วน้ำ


3. เหยือกใส่น้ำ


วิธีปฏิบัติ 1. ผู้ปกครองชักจูงเด็กให้ปฏิบัติกิจกรรม


2. ผู้ปกครองพาเด็กไปที่ชั้นวางอุปกรณ์ แล้วนำอุปกรณ์ขวดสำรวจรสไปที่โต๊ะที่จะแสดง


3. รินน้ำจากเหยือกใส่แก้วทั้งสอง สำหรับเด็กหนึ่งแก้ว และผู้ปกครองหนึ่งแก้ว


4. ผู้ปกครองใช้ที่สำหรับหยอดตา บีบน้ำเกลือจากขวดแรกหยดลงบนมือแล้วชิม พร้อมบอกเด็กว่า "นี่ ! เค็ม"


5. ผู้ปกครองดื่มน้ำจากแก้วที่รินเตรียมไว้


6. ผู้ปกครองปฏิบัติเช่นเดียวกันกับขวดน้ำตาล น้ำส้มและน้ำการบูร


7. ผู้ปกครองให้เด็กลองปฏิบัติดูบ้าง


8. ผู้ปกครองไปเก็บไว้ที่ชั้นตามเดิม


สิ่งที่เด็กจะได้รับ 1. เด็กจะได้ประสบการณ์กับรสต่าง ๆ


2. เด็กจะรู้จัก รสเค็ม หวาน เปรี้ยว และเผ็ด


ประเมินผล ผู้ปกครองสังเกตดูว่าเด็กบอกรสได้ถูกต้องหรือไม่

นิทานก่อนนอน

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว...มีกบฝูงหนึ่งอาศัยอยู่ในหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่งอย่างอิสระเสรี และมีความสุข ไม่มีใครบังคับเคี่ยวเข็ญ กิน นอน เล่น ไปวันวัน ทำให้รู้สึกว่าพวกตนช่างมีความสุขสบายเหลือเกิน


ต่อมาวันหนึ่งพวกกบได้มานั่งล้อมวงคุยกัน ต่างปรึกษากันว่าการอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ น่าจะมีหัวหน้า หรือ พระราชาปกครองพวกเราสักคน นอกจากจะทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยแล้วยังช่วยคุ้มครองอันตราย ให้กับพวกกบได้อีกด้วย กบทั้งหลายต่างมีความเห็นตรงกันจึงพากันไปหาเทวดา ขอพรให้เทวดาช่วยส่งหัวหน้า หรือพระราชามาให้



เทวดารู้ว่าพวกกบสุขสบายกันจนเคยตัวก็เลยนึกอยากมีหัวหน้าไปอย่างนั้นเอง ไม่ได้คิดจริงจังอะไร จึงเสกท่อนซุงให้หล่นจากฟ้าตกลงสู่หนองน้ำเสียงดังโครมใหญ่ พวกกบพากันตกใจกลัวรีบดำหนีไปหลบก้นสระ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงพากันโผล่ขึ้นมา


พวกกบทั้งหลายได้เห็นซุงท่อนใหญ่ ก็รู้ว่าเป็นพระราชาที่เทวดาประทานมาให้ ต่างพากันดีใจและให้ความเคารพท่อนซุงนั้น


ต่อมาไม่นานมีกบตัวหนึ่งใจกล้ากระโดดขึ้นไปเกาะบนท่อนซุงใหญ่ กบตัวอื่นๆเห็นว่าพระราชาของตนไม่ว่าอะไร ก็พากันกระโดดตามขึ้นไปบ้าง “พระราชาของเราองค์นี้ท่านก็ใจดีอยู่หรอก แต่อ่อนแอไม่เอาไหน วัน ๆ ได้แต่ ลอยไป ลอยมา...น่าเบื่อ” กบตัวหนึ่งกล่าวอย่างหมดความยำเกรง “พวกเราน่าจะไปร้องขอพระราชาองค์ใหม่ที่เข้มแข็งกว่านี้มาปกครองพวกเราดีกว่า” กบอีกตัวพูด
พวกกบจึงพากันไปร้องขอต่อเทวดา เทวดาเห็นว่าพวกกบทำแบบนั้น จึงโกรธพวกกบที่ไม่รู้จักพอใจ ในความเป็นอยู่ที่แสนสุขสบายของตน คราวนี้เลยส่งนกกระสาไปแทนท่อนซุง เมื่อนกกระสาลงไปก็จับพวกกบกินเป็นอาหาร ตัวแล้วตัวเล่า พวกกบหายไปทีละตัว ทีละตัว เมื่อได้รับความเดือดร้อนพวกกบ ที่เหลืออยู่จึงพากัน ขอพระราชาองค์ใหม่จากเทวดาอีกครั้ง “เมื่อเจ้าไม่พอใจสภาพความเป็นอยู่เดิมของตัวเอง ก็จงทนอยู่กับสภาพที่พวกเจ้าร้องขอไปเถอะ” เทวดาตวาดเสียงดังลงมาจากฟากฟ้า

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า :เราควรพอใจในสิ่งที่เรามีอยู่...การไม่รู้จักพอใจในสิ่งที่ตนมี เที่ยวร้องขอในสิ่งที่ต้องการไม่รู้จักจบสิ้น ย่อมเกิดผลร้ายตามมา

พัฒนาการเด็กอนุบาล


การส่งเสริมพัฒนาการ เด็กวัยอนุบาล
เด็กวัยอนุบาลคือเด็กที่มีอายุระหว่าง ๓-๖ ปี เป็นระยะที่เด็กมีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน เป็นอย่างมาก ฉะนั้นการส่งเสริมด้วยการให้โอกาส หรือกระตุ้นให้เด็กได้เล่น และฝึกการทำกิจกรรม ที่เหมาะสมจะช่วยให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ อันเป็นรากฐานที่ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการอย่างสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา


สิ่งที่ช่วยในการส่งเสริมพัฒนาการ
๑. บรรยากาศในบ้านหรือโรงเรียนที่เป็นสุขเต็มไปด้วยความรักความเข้าใจ และให้โอกาสแก่เด็กในการเรียนรู้และแสดงออก
๒. ความสนใจและเอาใจใส่รู้ว่าเด็กกำลังทำอะไรอยู่ และให้กำลังใจเมื่อเด็กทำได้ด้วยการแสดงสีหน้าชื่นชม ปรบมือ กอดรัดอุ้มชู เป็นส่วนช่วยให้เด็กเรียนรู้ว่าสิ่งที่เขาทำไปนั้นถูกต้องทำให้รู้สึกภาคภูมิใจตนเอง และเกิดกำลังใจที่จะทำต่อไป
๓. พ่อแม่ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำกิจวัตรประจำวัน เพราะเด็กวัยนี้ชอบเลียนแบบการกระทำของผู้ใหญ่

วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2552

ประทับใจ

วัยเดียวกัน แต่การกินต่างกัน
ท่านมหาตมะ คานธี กล่าวว่า "ทรัพยากรในโลกมีเพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงคนทั้งโลก แต่ไม่เพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงคนละโมบเพียงคนเดียว"

แนะนำตัว

ชื่อ นางสาวน้องนุช จันทร์เพ็ชร

ที่อยู่ 81/1 หมู่ 2 ตำบลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี 76130 โทร 087-1683549

สถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านสระพระ ตำบลท่าคอย อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี 76130

ความภาคภูมิใจ ปี 2544 บุคลากรต้นแบบการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ครูผู้สอนระดับก่อนประถมศึกษา

สปอ.แก่งกระจาน สปจ.เพชรบุรี
ปี 2546 บุคลากรต้นแบบปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ รางวัลครูเกียรติยศ สปจ.เพชรบุรี
ปี 2548 ครูดีในดวงใจ สพท.พบ.2
ปี 2549 วิจัยในชั้นเรียนระดับคุณภาพทองแดง ระดับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ปี 2551 วิจัยในชั้นเรียนระดับคุณภาพทองแดง ระดับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี